ประวัติความเป็นมา

ชื่อหน่วยงาน : ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลหาดใหญ่

ที่ตั้ง : ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลหาดใหญ่ 182 ถนนรัถการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลหาดใหญ่

โรงพยาบาลหาดใหญ่ เป็นสถาบันสมทบของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ตั้งแต่คณะแพทยศาสตร์เปิดสอนนักศึกษาแพทย์ รุ่นที่ 1 พ.ศ. 2515 จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาการขาดแคลนแพทย์จากภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้แพทย์ลาออกไปอยู่โรงพยาบาลเอกชนเป็นจำนวนมาก กระทรวงสาธารณสุขและทบวงมหาวิทยาลัย ในสมัยที่ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย จึงได้มีการตกลงร่วมมือกันผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการนี้ 

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2537 เป็นระยะเวลา 10 ปี ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2544 เลื่อนระยะเวลาสิ้นสุดโครงการออกไปอีก 2 ปี คือ สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2549 โรงพยาบาลหาดใหญ่ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 12 โรงพยาบาลศูนย์ ให้จัดสอนนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก โดยร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทภาคใต้ร่วมกัน และเพื่อให้การดำเนินงานผลิตแพทย์เพิ่มเป็นไปได้อย่างราบรื่น กระทรวงสาธารณสุขได้มีคำสั่งที่ 1168/2541 ให้จัดตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก 12 แห่ง มีฐานะเป็นฝ่ายหนึ่งของโรงพยาบาลศูนย์ และมีผู้อำนวยการศูนย์แพทยศาสตรศึกษา ชั้นคลินิก รับผิดชอบการปฏิบัติราชการ ภายใต้บังคับบัญชาของผู้อำนวยการโรงพยาบาล ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก มีหน้าที่จัดการเรียนการสอนชั้นคลินิกให้กับนักศึกษาแพทย์ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

courses

Workshops

Room

ในด้านการจัดทำหลักสูตร รองศาสตราจารย์นายแพทย์อานุภาพ เลขะกุล อดีตรองคณบดีฝ่ายแพทยศาสตรศึกษา ได้จัดประชุมร่วมกันครั้งที่ 1 วันที่ 22 ธันวาคม 2540 เพื่อจัดวางหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ผลิตบัณฑิตแพทย์ที่มีเจตคติที่ดีต่อการทำงานในชนบทของสถานบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หลักสูตรจึงควรมีลักษณะพิเศษที่จะหล่อหลอมนักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถและเจตคติต้องตามภาพลักษณ์ของโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท เมษายน พ.ศ. 2541 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างหลักสูตรระดับรายวิชา ที่ประชุมได้กำหนดโครงร่างหลักสูตรที่มีลักษณะ Integration, Community – based โดยใช้ Problem – Based Learning (PBL) ประกอบกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เปลี่ยนหลักสูตรใหม่ เริ่มใช้ปีการศึกษา 2541 จึงต้องจัดทำหลักสูตรที่สอดคล้องกัน เพื่อรองรับนักศึกษาแพทย์รุ่นแรกของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก ที่จะเข้าศึกษาปีการศึกษา 2542

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และกระทรวงสาธารณสุข ได้ทำพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

กระทรวงสาธารณสุขได้จัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคารศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก จำนวน 103 ล้านบาท เป็นอาคาร 9 ชั้น ประกอบด้วย สำนักงาน ห้องทำงานของอาจารย์ ห้องสมุดเล็ก และ Study room Skills lab ห้องเรียน 6 ห้อง ห้องประชุม และห้องพักนักศึกษาแพทย์ นักศึกษาแพทย์รุ่นแรก จำนวน 20 คน เริ่มเรียนที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2545 สำเร็จการศึกษา ปี 2548 และไปปฏิบัติงานเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะในจังหวัดภูมิลำเนาของตนเอง รุ่นที่ 2 จำนวน 19 คน สำเร็จการศึกษาปี 2549 ขณะนี้นักศึกษาแพทย์รุ่นที่ 16 กำลังศึกษาชั้นคลินิก

เป็นสถาบันผลิตแพทย์ชั้นเลิศ เพื่อชาวชนบทในภาคใต้ สร้างบัณฑิตแพทย์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน มีคุณธรรม สามารถปฏิบัติงานในชนบทได้ยั่งยืน และมีความสุข

CPIRDHATYAI
mec.hatyai@cpird.in.th
จำนวนผู้เยี่ยมชม

Loading