สาขากุมารเวชศาสตร์

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน

เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

สาขากุมารเวชศาสตร์ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ พ.ศ. ๒๕๖๕


วิสัยทัศน์ของกลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่

“มีความเป็นเลิศในการให้บริการทางด้านกุมารเวชกรรม และเป็นแหล่งผลิตแพทย์, กุมารแพทย์ ที่มีคุณภาพ”

พันธกิจของแผนการฝึกอบรม/หลักสูตร
การดูแลปัญหาและสุขภาพของเด็ก นอกเหนือจากการให้การรักษาอย่างมีมาตรฐานแล้ว ยังต้องให้การป้องกันโรค และการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อเด็กจะได้มีสุขภาพดีเป็นกำลังสำคัญของชาติต่อไป

           ในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อม การสื่อสารและเทคโนโลยีและการศึกษาอันมีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของมนุษย์ทุกเพศทุกวัย
นอกจากนี้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในสังคมที่เพิ่มมากขึ้น ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายแผนงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน ระบบบริการสุขภาพ การดูแลและส่งต่อผู้ป่วย การบริบาลสุขภาพ ที่ยึดคนเป็นศูนย์กลาง (people-centered health care) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผล กระทบต่อสุขภาวะของเด็กไทยทั้งทางตรง และทางอ้อม ปัญหาสุขภาพของเด็กไทย ความต้องการด้านสุขภาพของชุมชนและสังคมในเรื่องเกี่ยวกับเด็ก ตลอดจนความรับผิดชอบ ทางสังคม ของกุมารแพทย์แตกต่างจากในอดีต กล่าวคืออุบัติการณ์ ของโรคติดเชื้อทั่วไปลดลง ในขณะเดียวกัน พบโรคติดเชื้ออุบัติใหม่เช่นการระบาดของ Covid-19 โรคเรื้อรังและซับซ้อน โรคที่เกิดจากพฤติกรรม การบริโภค การเลี้ยงดู การมีพฤติกรรมทางด้วนสุขภาพและการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมเพิ่มมากขึ้น เช่น โรคอ้วน ปัญหาด้านพัฒนาการ ปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาวัยรุ่น โรคที่เกิดจากมลภาวะ เป็นต้น นอกจากนี้ ปัญหาสังคมในปัจจุบัน ยังส่งผลให้เด็กที่อยู่ในสภาวะยากลำบากมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
ในพื้นที่บริการเขตสุขภาพที่ 12 เป็นพื้นที่ที่มีอัตราการคลอดก่อนกำหนด อัตราตายของทารกแรกเกิด อัตราการป่วยและตายของโรคที่พบบ่อยในกุมารเวชปฏิบัติ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคปอดบวมในเด็กอายุ 1 เดือนถึง 5 ปี และโรคหืดอยู่ในระดับสูงมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 3 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ประกอบกับจำนวนกุมารแพทย์ไม่เพียงพอ ในเขตบริการ ทำให้พบปัญหาการส่งต่อผู้ป่วยเด็กโรคดังกล่าว
โรงพยาบาลหาดใหญ่เป็นโรงพยาบาลที่ให้บริการในระดับตติยภูมิ มีนโยบายพัฒนาศูนย์ความเชี่ยวชาญ ในระดับสูง เช่น ทารกแรกเกิด โรคหัวใจในเด็ก โรคเลือดและมะเร็งในเด็ก โรคปอดและทางเดินหายใจ โรคไต โรคระบบทางเดินหายใจและภาวะวิกฤต กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา เหล่านี้ จึงได้มีการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมกุมารแพทย์ซึ่งมีกรรมการฝ่ายการศึกษาหลังปริญญาประกอบด้วย อาจารย์ และตัวแทนแพทย์ประจำบ้านโดยกำหนดพันธกิจของการฝึกอบรมดังนี้
ผลิตกุมารแพทย์ที่มีคุณภาพและทันยุคกับการเปลี่ยนแปลงของโลกเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศโดย
เฉพาะอย่างยิ่งในภาคใต้ตอนล่างเพื่อสนับสนุนและสร้างเครือข่ายระบบบริการสุขภาพเขต 12 ที่เข้มแข็งและยั่งยืน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลด้านสุขภาพ มีความเอื้ออาทรและใส่ใจในความปลอดภัยของผู้ป่วยเพื่อการ แก้ไขปัญหาและการส่งเสริมสุขภาพ โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม มีความรับผิดชอบ ต่อปัญหาสุขภาพในสังคม คำนึงถึงสิทธิผู้ป่วย มีทักษะการสื่อสารที่ดี เข้าใจหลักการ Rational drug use มีความสามารถ ในการทำงานอย่างมืออาชีพ รู้จักคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองอย่างเต็มตัวโดยไม่ต้องมีการกำกับ ดูแล ตลอดจนสามารถปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพหรือเป็นทีมได้ รวมทั้งมีเจตนารมณ์และเตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต ควบคู่ไปกับการจัดสมดุล ระหว่างสภาวะการทำงาน และการรักษาสุขภาพของตนเองทั้งนี้เพื่อให้เด็กไทยอยู่ดีมีสุข มีพัฒนาการสมวัย ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจและสังคม และกุมารแพทย์เองสามารถดำเนินชีวิต ได้อย่างมีความสุข เช่นกัน
ในการปรับปรุงหลักสูตรครั้งนี้ อิงจากเกณฑ์หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์ พ.ศ. 2565โดยคณะอนุกรรมการการฝึกอบรมและสอบ ความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ในการพัฒนาหลักสูตรครั้งนี้ ได้ปรับปรุงจากหลักสูตรเดิมในปีพ.ศ. 2554 พ.ศ. 2561 รวมทั้งอิงเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบ
วิชาชีพเวชกรรม ของแพทยสภาฉบับปรับปรุงใหม่ที่เน้นการบริบาลสุขภาพที่ยึดคน เป็นศูนย์กลาง (people-centered health care)
ผลลัพธ์ของการฝึกอบรม/หลักสูตร
เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมหลักสูตรเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขา กุมารเวชศาสตร์ของแพทยสภาเป็นเวลา 3 ปี ผู้ได้รับวุฒิบัตรฯจะต้องมีความรู้ความสามารถทางวิชาชีพ หรือผลของการ เรียนรู้ ที่พึงประสงค์ตามสมรรถนะหลักที่ครอบคลุมความรู้ ทักษะ และเจตคติที่จำเป็น

สำหรับการเป็นกุมารแพทย์และ สอดคล้องกับพันธกิจของหลักสูตร ดังนี้
5.1 พฤตินิสัย เจตคติ คุณธรรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ (Professional habits, attitudes, moral and ethics)
5.1.1 มีคุณธรรมและจริยธรรมที่เหมาะสมต่อวิชาชีพแพทย์
5.1.2 มีความน่าเชื่อถือและความรับผิดชอบ
5.1.3 มีความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น และมีจิตสาธารณะ
5.1.4 เคารพและให้เกียรติต่อผู้ป่วย และครอบครัว ปฏิบัติต่อผู้ป่วยด้วยความเอาใจใส่ โดยไม่ คำนึงถึงบริบท ของเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา อายุ และเพศ ให้ความจริงแก่ผู้ป่วย หรือผู้ปกครองตามแต่กรณี รักษาความลับ และเคารพในสิทธิเด็กและสิทธิของผู้ป่วย
5.1.5 ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและวิชาชีพ เป็นที่ไว้วางใจของผู้ป่วย ผู้ปกครองผู้ป่วยและ สังคม
5.1.6 มีพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อเพื่อนร่วมงานทั้งในวิชาชีพของตนเองและวิชาชีพอื่นๆ
5.1.7 จัดสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและการรักษาสุขภาพตนเอง ดำเนินชีวิตได้อย่างมี ความสุข
5.2 การติดต่อสื่อสารและการสร้างสัมพันธภาพ (Communication and interpersonal skills)
5.2.1 สามารถสื่อสารกับผู้ป่วย บิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดู โดยตระหนักถึงปัจจัยของ คู่สื่อสารที่อาจส่งผลต่อการสื่อสาร ได้แก่ ภูมิหลังของผู้ป่วย (ระดับการศึกษา ภาษา วัฒนธรรม ความเชื่อเรื่องสุขภาพ) พฤติกรรมและสภาวะทางอารมณ์ของผู้ป่วย บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้เลี้ยงดู รวมถึงบรรยากาศที่เอื้อต่อการสื่อสาร
5.2.2 มีทักษะในการรับฟังปัญหา เข้าใจความรู้สึกและความวิตกกังวลของผู้ป่วย บิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดู
5.2.3 สามารถสื่อสารกับผู้ร่วมงานและสหวิชาชีพ สร้างความสัมพันธ์และบูรณาการระหว่าง ทีมที่ดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
5.2.4 มีทักษะในการให้คำปรึกษา ถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
5.2.5 สามารถสื่อสารด้วยภาษาพูด ภาษาเขียน และภาษาท่าทาง (nonverbal communication) ทั้งต่อผู้ป่วย ผู้ร่วมงานและสังคม ได้อย่างมีประสิทธิภาพและ เหมาะสม
5.2.6 สามารถสื่อสารทางโทรศัพท์ สื่ออิเลคทรอนิกส์ และสื่อประเภทอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม
5.2.7 ชี้แจง ให้ข้อมูลเพื่อให้ได้รับความยินยอมจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครองเด็กในการ ดูแลรักษา และการยินยอมจากตัวผู้ป่วยเด็กโตตามความเหมาะสม (consent and assent)
5.2.8 ให้คำแนะนำ และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยและผู้ปกครองอย่างเหมาะสม
5.3 ความรู้ทางกุมารเวชศาสตร์และศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง (Scientific knowledge of pediatrics and other related sciences) (ภาคผนวกที่ 1)
5.3.1 มีความรู้ความเข้าใจด้านวิชากุมารเวชศาสตร์
5.3.2 มีความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ วิทยาศาสตร์คลินิก วิทยาศาสตร์สังคมและพฤติกรรม เวชศาสตร์ป้องกัน จริยธรรมทาง การแพทย์ ระบบสาธารณสุข กฎหมายทางการแพทย์ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล ๒๕๖๒ การแพทย์ทางเลือกในส่วนที่เกี่ยวกับกุมารเวชศาสตร์ความรู้ พื้นฐานเกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพ การบริหารความเสี่ยง
5.3.3 คิดวิเคราะห์ ค้นคว้าความรู้เพื่อนำไปประยุกต์ในการตรวจวินิจฉัย และบำบัดรักษา ผู้ป่วย ตลอดจนวางแผน การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วยได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
5.4 การบริบาลผู้ป่วย (Patient care) มีความรู้ความสามารถในการให้การบริบาลผู้ป่วยโดยใช้ ทักษะความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.4.1 การตรวจวินิจฉัย และดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient assessment and management)
5.4.1.1 มีท่าทีและทักษะในการซักประวัติที่เหมาะสม
5.4.1.2 ตรวจร่างกายเด็กด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
5.4.1.3 วางแผนการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างมีเหตุผล ประหยัด และคุ้มค่า
5.4.1.4 รวบรวมข้อมูลจากประวัติ การตรวจร่างกาย ผลการตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษต่างๆ เพื่อนำมาตั้งสมมติฐาน วิเคราะห์ หาสาเหตุของปัญหาของผู้ป่วย
5.4.1.5 นำความรู้ทางทฤษฎีและใช้หลักการของเวชศาสตร์เชิงประจักษ์ (evidence- based
medicine) มาประกอบก าร พิ จา รณ า แล ะ ใ ช้ วิจารณญาณ ในการตัดสินใจทางคลินิก
การให้การวินิจฉัย การใช้ยาตลอดจน การให้การบำบัดรักษา ผู้ป่วย ได้อย่างเหมาะสม
และทันท่วงที
5.4.1.6 เลือกใช้มาตรการในการป้องกัน รักษา การรักษาแบบประคับประคอง การ
ดูแลผู้ป่วยเด็กในระยะสุดท้ายและเด็กที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ให้สอดคล้อง กับระยะ ของการดำเนินโรค (natural history) ความต้องการของผู้ป่วยและ ครอบครัว ตลอดจนทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างเหมาะสม
5.4.1.7 บันทึกเวชระเบียนอย่างเป็นระบบถูกต้อง และต่อเนื่อง โดยใช้แนวทาง มาตรฐานสากล
5.4.1.8 รู้ข้อจำกัดของตนเอง ปรึกษาผู้มีความรู้ความชำนาญกว่า หรือส่งต่อผู้ป่วยไป รับการรักษา
รวมทั้งการรับกลับมาดูแลรักษาต่อได้อย่างเหมาะสม
5.4.1.9 ให้การบริบาลสุขภาพเด็กแบบองค์รวม โดยยึดผู้ป่วยและครอบครัวเป็น ศูนย์กลาง
และยึดหลักการของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฏหมาย กำหนดไว้
5.4.1.10 ให้การดูแลรักษาแบบสหวิชาชีพแก่ผู้ป่วยเด็กได้อย่างเหมาะสม
5.4.1.11 ในกรณีฉุกเฉิน สามารถจัดลำดับความสำคัญ และให้การรักษาเบื้องต้นได้ อย่างทันท่วงที
5.4.2 การตรวจโดยใช้เครื่องมือพื้นฐาน การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การทำหัตถการที่ จำเป็น (Technical and procedural skills) และใช้เครื่องมือต่างๆในการตรวจ วินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยเด็ก โดยสามารถอธิบายข้อบ่งชี้ ข้อห้าม ภาวะแทรกซ้อนใน การตรวจ สภาพและเงื่อนไขที่เหมาะสม ตลอดจนขั้นตอนการตรวจ สามารถกระทำได้ ด้วยตนเอง แปลผลได้อย่างถูกต้อง และเตรียมผู้ป่วยเด็กเพื่อการตรวจวินิจฉัยนั้นๆได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม (ภาคผนวกที่ 2)
5.5 ระบบสุขภาพ และการสร้างเสริมสุขภาพ (Health system and health promotion) มีความสามารถ ในการกำกับดูแลสุขภาพของเด็กอย่างต่อเนื่อง (continuity care) ตั้งแต่แรก เกิดถึงวัยรุ่น ให้คำปรึกษาแนะนำ แก่ผู้เลี้ยงดูได้ทั้งในคลินิกสุขภาพ หอผู้ป่วยนอก หอผู้ป่วย ใน โดยคำนึงถึงระบบสุขภาพ และครอบครัว เป็นศูนย์กลาง
5.5.1 กำกับดูแลสุขภาพเด็กโดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
5.5.2 ประเมิน วิเคราะห์ วางแผนการดูแลรักษา และพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพเด็กในวัย ต่างๆ
ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่น
5.5.3 ให้การบริบาลสุขภาพเด็กโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและพิทักษ์ประโยชน์ของผู้ป่วย เด็กเป็นสำคัญ
5.5.4 ตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัว ชุมชน และสังคมที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพ เด็ก และสามารถโน้มน้าวให้ครอบครัว ชุมชน และสังคมมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ เด็กแบบองค์รวม
5.5.5 ให้การดูแลรักษา คำปรึกษา ตลอดจนดำเนินการส่งต่อ บนพื้นฐานความรู้เรื่องระบบ
สุขภาพและการส่งต่อ การแพทย์ทางไกลหรือโทรเวช (telemedicine) และคลินิก ออนไลน์
5.5.6 ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลเด็กด้อยโอกาส เด็กถูกทอดทิ้ง และสามารถให้ การช่วยเหลือ
ติดต่อประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม
5.6 การพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (Continuous professional development) เพื่อธำรงและพัฒนาความสามารถด้านความรู้ ทักษะ เจตคติ และ พฤติกรรมในการประกอบวิชาชีพ เวชกรรมสาขากุมารเวชศาสตร์ให้มีมาตรฐาน ทันสมัย อย่าง ต่อเนื่อง และตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย สังคม และความเปลี่ยนแปลง โดย
5.6.1 กำหนดความต้องการในการเรียนรู้ของตนเองได้อย่างครอบคลุมทุกด้านที่จำเป็น
วางแผนและแสวงหาวิธีการสร้างและพัฒนาความรู้ ทักษะ เจตคติ และพฤติกรรมที่ 6 เหมาะสม เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแสวงหาและแลกเปลี่ยนความรู้ ฝึกทักษะ รวมทั้ง พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
5.6.2 ค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.6.3 มีวิจารณญาณในการประเมินข้อมูล บนพื้นฐานของหลักการด้านวิทยาการระบาด คลินิก
และเวชศาสตร์เชิงประจักษ์
5.6.4 ประยุกต์ความรู้ เทคโนโลยี และทักษะใหม่ได้อย่างเหมาะสม ในการบริบาลผู้ป่วย
5.6.5 ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพงาน รวมทั้งสามารถปฏิบัติได้อย่าง
สม่ำเสมอและต่อเนื่อง พัฒนางาน สร้างองค์ความรู้ใหม่จากงานวิจัย การปฏิบัติงาน ประจำวัน
(practice-based learning and improvement) และการจัดการความรู้ ได้ (knowledge management)
5.7.ภาวะผู้นำ(Leadership)
มีความสามารถในการเป็นผู้นำทั้งในระดับทีมงานที่ดูแลรักษาผู้ป่วยและการบริการสุขภาพในชุมชน การทำงาน ร่วมกันเป็นทีม และการรับปรึกษาผู้ป่วย ดังนี้
5.7.1 เป็นผู้นำในการบริหารจัดการในทีมที่ร่วมดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.7.2 ทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานได้ในหลายบทบาท ทั้งในฐานะหัวหน้า ผู้ประสานงานและสมาชิกกลุ่ม
5.7.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ร่วมงานทำหน้าที่ได้อย่างเต็มความสามารถ
5.7.4 แสดงถึงความเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์

 

ประวัติโรงพยาบาลหาดใหญ่


บทนำ
โรงพยาบาลหาดใหญ่ เป็นโรงพยาบาลศูนย์แห่งแรกของกระทรวงสาธารณสุข ในภาคใต้ ปัจจุบันตั้งอยู่บ้านเลขที่ 182 ถนนรัถการ ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ห่างจากศาลากลางจังหวัดสงขลา ประมาณ 31 กิโลเมตร เดิมเป็นโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ห่างจากชุมชน แต่เมืองหาดใหญ่ได้ขยายตัวทางด้านธุรกิจ และการเพิ่มของจำนวนประชากรเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ปัจจุบันนี้โรงพยาบาลหาดใหญ่ จึงได้ตั้งอยู่ในย่านชุมชนไปโดยปริยาย นอกจากนี้ เมืองหาดใหญ่ ยังเป็นศูนย์กลางคมนาคมของภาคใต้ ประชาชนสามารถเดินทางติดต่อกันได้โดยสะดวก โรงพยาบาลหาดใหญ่ ซึ่งอยู่ในฐานะของ โรงพยาบาลศูนย์และเป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายของโครงการพัฒนาระบบบริการของสถานบริการ และหน่วยงานสาธารณสุข ในส่วนภูมิภาค (พบส.) กลุ่มเครือข่าย 12/1 จึงได้ให้บริการโดยให้คำปรึกษา ให้การสนับสนุนทั้งในด้านทรัพยากรและวิชาการ และรับ ผู้ป่วยที่ส่งมาจากโรงพยาบาลใกล้เคียงและในกลุ่มเครือข่ายทั้งหมด


ประวัติและความเป็นมา
โรงพยาบาลหาดใหญ่ ตั้งขึ้นด้วยความริเริ่มของ นายพ่วง สุวรรณรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และ นายโกเมศ อินทวงศ์ นายกเทศมนตรีเมืองหาดใหญ่ ในขณะนั้น ปี พ.ศ. 2500 ในการก่อสร้างครั้งแรก เทศบาลเมืองหาดใหญ่ ได้มอบที่ดินให้มีเนื้อที่เพียง 13 ไร่เศษ และกระทำพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างโรงพยาบาลหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2501 โดยก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก และอาคารผู้ป่วยในแบบทรงไทย 2 หลัง หลังจากได้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จก็ได้ทำพิธีเปิด โดย ฯพณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2502 โดยมีนายแพทย์กำธร เจริญ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลคนแรก
ปี พ.ศ. 2507 ได้ก่อสร้างตึกผู้ป่วยในแบบทรงไทย 2 ชั้น ขนาด 75 เตียง
ปี พ.ศ. 2510 ได้ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยศัลยกรรม สูติกรรมและเด็ก เป็นอาคาร 4 ชั้น และก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือน ธันวาคม 2511 แต่ไม่สามารถเปิดรับผู้ป่วยได้ เพราะขาดงบประมาณในการจัดซื้อเตียงผู้ป่วยและอุปกรณ์อื่น ๆ นายแพทย์จำลอง บ่อเกิด จึงได้ขอความร่วมมือจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 (ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต 6) ในปัจจุบัน จัดรายงานทางโทรทัศน์เพื่อหาทุนสนับสนุนและได้รับความร่วมมือจากพ่อค้า คหบดี และประชาชนทั่วไป โดยได้รับเงินบริจาคสำหรับจัดซื้ออุปกรณ์ 1 ล้านบาทเศษ จึงทำให้อาคารผู้ป่วยศัลยกรรม สูติกรรมและเด็ก เปิดรับผู้ป่วยได้ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2513 กระทำพิธีเปิดโดย ฯพณฯ พลเอกประเสริฐ รุจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น และได้รับบริจาคเงินสมทบซื้อเครื่องโทรศัพท์ภายในขนาด 100 เลขหมาย พร้อมทั้งจัดตั้งเสร็จเป็นจำนวนเงิน 216,450 บาท
โรงพยาบาลหาดใหญ่ ได้เปิดรับคนไข้ในวันที่ 24 มิถุนายน 2502 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาเนื่องจากการเจริญเติบโตของชุมชนในอำเภอหาดใหญ่ได้ขยายไปโดยรวดเร็ว รวมทั้งมีผู้ป่วยเจ็บไข้ในท้องที่และจังหวัดใกล้เคียงมารับบริการเพิ่มมากขึ้น พื้นที่ที่จะทำการก่อสร้างต่าง ๆ มีจำกัด ไม่สามารถขยายการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ เพื่อรองรับการใช้บริการได้ทั่วถึง ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2513 จึงได้เสนอต่อกรมการแพทย์ ขอทำการจัดหาที่ดินเพิ่มเติมออกไปทางถนนรัถการ ซึ่งเป็นพื้นที่ติดต่อผืนเดียวกันและเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลแห่งใหม่ในปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2513 ได้มีการแต่งตั้งกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 202 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2515 โดยมีผู้อำนวยการโรงพยาบาลหาดใหญ่ นายจำลอง บ่อเกิด เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลาและนายอำเภอหาดใหญ่ ในขณะนั้นเป็นกรรมการ
ปี พ.ศ. 2516 ดำเนินการเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้ที่ดินทั้งสิ้น 19 ไร่ 44 ตารางวา รวมเป็นเนื้อที่ซึ่งรวมสมทบที่ดินของเดิมประมาณ 33 ไร่
ปี พ.ศ. 2522-2525 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก 5 ชั้น และอาคารผู้ป่วยใน 6 ชั้น ซึ่งสามารถรองรับผู้ป่วยได้ถึง 700 เตียง
ปี พ.ศ. 2523 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารบรรยายทางวิชาการ 4 ชั้น
ในเดือน กุมภาพันธ์ 2526 โรงพยาบาลหาดใหญ่ได้ย้ายผู้ป่วยจากอาคารเดิมมาอยู่อาคารใหม่ที่ตั้ง ถนนรัถการ ในปัจจุบันนี้ และได้กระทำพิธีเปิดอาคารทั้ง 2 หลัง โดย พณฯพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2526
ปี พ.ศ. 2538 ได้งบประมาณผูกพันก่อสร้างอาคารเรียน หอสมุด อาคารหอพัก 9 ชั้น ของศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิค
ปี พ.ศ. 2538 ได้งบประมาณผูกพันก่อสร้างอาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 10 ชั้น

ทำเนียบผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลหาดใหญ่
นายแพทย์กำธร เจริญ พ.ศ. 2501 – 2505
นายแพทย์เฉลียว รัญเสวะ พ.ศ. 2505 – 2506
นายแพทย์จำลอง บ่อเกิด พ.ศ. 2506 – 2532
นายแพทย์มนตรี เศรษฐบุตร พ.ศ. 2532 – 2534
นายแพทย์เฉลิมชัย ชูเมือง พ.ศ. 2534 – 2537
นายแพทย์กมล ระประดิษฐ์ พ.ศ. 2537 – 2553
นายแพทย์กุลเดช เตชะนภารักษ์ พ.ศ.2553- 2559
นายแพทย์สุภาพ ไพศาลศิลป์ พ.ศ.2559-2560
นายแพทย์พีระพงษ์ ภาวสุทธิไพศิฐ พ.ศ.2560 – 2564
นายแพทย์ไชยสิทธิ์ เทพชาตรี พ.ศ.2564-ปัจจุบัน

ปัจจุบัน
ปัจจุบัน โรงพยาบาลหาดใหญ่เป็นโรงพยาบาลศูนย์ ขนาด 713 เตียง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เริ่มเปิดดำเนินการในปี พ.ศ. 2502 โดยเป็นโรงพยาบาลศูนย์ที่เริ่มให้บริการและรับส่งต่อ ผู้ป่วยในเขตบริการสุขภาพที่ 12
เมื่อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เริ่มจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ในปี 2515 ยังไม่มีโรงพยาบาล เป็นสถานที่ฝึกงานของตนเอง จึงใช้โรงพยาบาลหาดใหญ่ เป็นสถานที่ฝึกงานชั้นคลินิกโดยแพทย์ของโรงพยาบาลหาดใหญ่ ได้รับแต่งตั้ง เป็นอาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทำหน้าที่ร่วมสอนชั้น คลินิก ให้กับนักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 4, 5, 6 ตั้งแต่ พ.ศ. 2520
พ.ศ. 2525 โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เริ่มเปิดดำเนินการ แต่นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5, 6 ยังคงหมุนเวียนมาฝึกปฏิบัติงานที่กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ โดยแพทย์ประจำของโรงพยาบาล เป็นผู้รับผิดชอบการเรียนการสอนทางคลินิกกลุ่มละ 3 สัปดาห์
พ.ศ. 2528 เป็นสถาบันสมทบการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านของสาขากุมารเวชศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จนถึง พ.ศ. 2536
พ.ศ. 2530 แพทยสภาอนุมัติให้เป็นสถาบันหลักในการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขากุมารเวชศาสตร์ โดยร่วมกับ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ เป็นเวลา 1 ปี 4 เดือน และที่คณะแพทยศาสตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลา 1 ปี 8 เดือน และได้รับอนุมัติจากกระทรวงสาธารณสุข ให้เปิดรับแพทย์ใช้ทุนประจำกลุ่มงานกุมารเวชกรรม ปฏิบัติงานเป็นเวลา 42 เดือน โดยมีสิทธิสอบวุฒิบัตร สาขากุมารเวชศาสตร์
พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับทบวงมหาวิทยาลัย ทำโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท เพื่อแก้ปัญหาความขาดแคลนแพทย์ในชนบท โดยโรงพยาบาลหาดใหญ่เป็นโรงพยาบาลศูนย์ที่ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 12 ศูนย์ที่รับนักศึกษาแพทย์
พ.ศ. 2542 ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลหาดใหญ่ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เริ่มเปิดดำเนินการรับนักศึกษาแพทย์รุ่นแรก โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ปีที่ 1 เข้าเรียนชั้นพรีคลินิก ปีที่ 1, 2, 3 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเรียนชั้นคลินิก ปีที่ 4, 5, 6 ที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2545
พ.ศ. 2546 กลุ่มงานกุมารเวชกรรม มีการสอนนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 ของโรงพยาบาลหาดใหญ่เองจนถึงปัจจุบัน ปีละ 40 คน
อาจารย์แพทย์ใหม่ทุกคนได้รับการพัฒนาความรู้ด้านแพทยศาสตร์ศึกษาขั้นพื้นฐาน (Rookie course) รวมทั้งหลักสูตร advanced course โดยเน้นเฉพาะเรื่อง อาทิเช่น การสอน การวัดประเมินผล การทำวิจัย เป็นต้น

ปัจจุบัน(ถึงกรกฎาคม 2561) กลุ่มงานกุมารเวชกรรม มี staff จำนวน 24 คน ประกอบด้วยกุมารแพทย์ทั่วไปและกุมารแพทย์ในอนุสาขาต่าง ๆ ดังนี้

1. ผศ. (พิเศษ)นพ.ไพโรจน์ บุญลักษณ์ศิริ กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป อนุสาขากุมารเวชศาสตร์ประสาทวิทยา
2. ผศ. (พิเศษ)นพ.ปฏิการ ดิสนีเวทย์ กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป อนุสาขากุมารเวชศาสตร์ ต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม
3. พญ. จีรวรรณ วรรณโร กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
4. พญ. ลลิดา และตี กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป จิตเวชเด็กและวัยรุ่น
5. พญ. ดาริน โชคสุชาติ กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ
6. รศ. (พิเศษ)นพ.ณรงค์ศักดิ์ นาขวัญ กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป อนุสาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
7. พญ. ณัจวาย์ ยุทธสมภพ กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป อนุสาขาโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก
8. พญ. ทิพาพร ทองมาก กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป อนุสาขากุมารเวชศาสตร์ประสาทวิทยา
9. พญ. ชุติมา ทองนวล กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป อนุสาขาโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก
10. พญ. วรรณธิดา ชื่นจิต กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป อนุสาขาโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
11. นพ. เจริญ นภาพงศ์สุริยา กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ
12. พญ. พรปรีณัน ชัยวิริยะวงศ์กุ มารเวชศาสตร์ทั่วไป อนุสาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
13. พญ. สุรัสวดี พิทักษ์ลิมนุวงศ์กุ มารเวชศาสตร์ทั่วไป อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคไต
14. พญ. สิริภา อุสาหะ กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป อนุสาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
15. พญ. เทพรัตน์ อัจจิมากุล กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป อนุสาขาทางเดินอาหารและโรคตับเด็ก
16. พญ. พัลลภา บรรเจิดลักษณ์ กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป อนุสาขาโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก
17. พญ. ฉัตตินี เก้าเอี้ยน กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ
18. พญ. อุไรวรรณ ตันตระกูล กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป อนุสาขากุมารเวชศาสตร์ตจวิทยา
19. พญ. อิงอร กังวานฐิติ กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป อนุสาขากุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม
20. พญ. เลอลักษณ์ วิทยาประภากร กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป อนุสาขาต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม
21. พญ. กนกพร รังสิตเสถียร กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ
22. พญ. พรทิพย์ จงวิไลเกษม กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป อนุสาขากุมารเวชศาสตร์ โรคไต
23. พญ. ปุณณมา เชยชม กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป อนุสาขากุมารเวชศาสตร์ประสาทวิทยา
24. นพ. นรุตม์ สุภาพ กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ

สำหรับการเรียนการสอนหลักสูตรกุมารเวชศาสตร์ ได้รับการตรวจประเมินและรับรองหลักสูตรการฝึกอบรมจาก ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ.2546 พ.ศ.2551 และ พ.ศ.2556 และในปีพ.ศ. 2561 ราชวิทยาลัยได้กำหนดการตรวจประเมินหลักสูตรตามเกณฑ์ของ World Federation Medical Education (WFME) ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นมาตรฐานสากลของแพทยศาสตร์ศึกษา

คณะผู้บริหาร / อาจารย์หัวหน้ากลุ่มงานกุมารเวชกรรม (อดีต-ปัจจุบัน)
พญ. อำภา วัฒนโชติ พ.ศ. 2516 – 2521
พญ. สุเจน ลิ่มปิตนัย พ.ศ. 2521 – 2522
พญ. สุดา ชุบอุปการ พ.ศ. 2522 – 2550
พญ. แกมกาญจน์ ศิลปโภชากุล พ.ศ. 2550 – 2556
พญ. ฐิติพร บ่อเกิด พ.ศ.2556 – 2561
ผศ. นพ. ปฏิการ ดิสนีเวทย์ พ.ศ.2561 – ปัจจุบัน

เอกสาร

หลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขากุมาร

เวชศาสตร์  โรงพยาบาลหาดใหญ่ พ.ศ. 2565