สาขาวิชา ศัลยศาสตร์ ปีการฝึกอบรม ๒๕๖๒
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับองค์กร
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
กลุ่มงานศัลยกรรมโรงพยาบาลหาดใหญ่ ได้มีการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาศัลยศาสตร์
ตั้งแต่ปี 2549 และผ่านการตรวจประเมินตามเกณฑ์การฝึกอบรมของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่ง
ประเทศไทยตั้งแต่มีการตรวจประเมินในปี 2550 เป็นต้นมา ได้ผลิตศัลยแพทย์ที่มีคุณภาพ กระจายอยู่ทั่ว
ประเทศ โดยเน้นการปฏิบัติงานในภาคใต้ มีทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน นอกจากนี้บางท่านปฏิบัติงานเป็นอาจารย์ในกลุ่มงานศัลยกรรมโรงพยาบาลหาดใหญ่ เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนากลุ่มงาน
ในช่วงเวลา 12 ปีที่ผ่านมา กลุ่มงานศัลยกรรมได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ดังนี้
เพิ่มศักยภาพของศัลยแพทย์สาขาต่างๆ เช่น ศัลยแพทย์ผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้อง พัฒนาศักยภาพการผ่าตัดที่ทันสมัยมากขึ้น ศัลยแพทย์ผ่าตัดหัวใจและทรวงอก การผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นต้น ซึ่งนำไปสู่การปรับกระบวนการเรียนรู้ของแพทย์ประจำบ้านและอาจารย์แพทย์ ปรับกระบวนการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน
ประกอบด้วย จำนวนผู้เข้าฝึกอบรมที่เหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ เพิ่มคุณภาพทางวิชาการทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ เน้นกระบวนการทำวิจัยเพื่อนำมาพัฒนาความรู้ทางด้านศัลยศาสตร์ ส่งเสริมการทำงานของแพทย์ประจำบ้านอย่างองค์รวม การทำงานเป็นทีม พัฒนาแพทย์ประจำบ้านในทุกๆด้าน เพื่อให้สำเร็จการศึกษาเป็นศัลยแพทย์ที่เป็นประโยชน์ต่อภาคใต้ตอนล่าง และประเทศชาติ
การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านได้ปรับเปลี่ยนตามเกณฑ์ของราชวิทยาลัยปี พ.ศ.2561 ทางกลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ มีความมุ่งมั่นเป็นอย่างยิ่งที่ผลิตศัลยแพทย์เพื่อรับใช้สังคมในท้องถิ่นภาคใต้ ผลผลิตของสถาบันโรงพยาบาลหาดใหญ่ เป็นศัลยแพทย์ที่มีคุณภาพ และธำรงอยู่ในระบบบริการสาธารณสุขของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืนต่อไป
1.2 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ
ชื่อหน่วยงาน กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่
ที่ตั้ง 182 ถ. รัถกาล ต. หาดใหญ่ อ. หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
ประวัติความเป็นมา
โรงพยาบาลหาดใหญ่ ตั้งขึ้นด้วยความริเริ่มของ นายพ่วง สุวรรณรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และ
นายโกเมศ อินทวงศ์ นายกเทศมนตรีเมืองหาดใหญ่ ในขณะนั้น ปี พ.ศ.2500 ในการก่อสร้างครั้งแรก เทศบาลเมืองหาดใหญ่ ได้มอบที่ดินให้มีเนื้อที่เพียง 13 ไร่เศษ และกระทำพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างโรงพยาบาลหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2501 โดยก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก และอาคารผู้ป่วยในแบบทรงไทย 2 หลัง หลังจากได้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จก็ได้ทาพิธีเปิดโดยฯพณฯจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2502 โดยมีนายแพทย์กำธร เจริญ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลคนแรก
ปี พ.ศ. 2507 ได้ก่อสร้างตึกผู้ป่วยในแบบทรงไทย 2 ชั้น ขนาด 75 เตียง
ปี พ.ศ. 2510 ได้ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยศัลยกรรม สูติกรรมและเด็ก เป็นอาคาร 4 ชั้น และก่อสร้างแล้วเสร็จ
ในเดือน ธันวาคม 2511 แต่ไม่สามารถเปิดรับผู้ป่วยได้ เพราะขาดงบประมาณในการจัดซื้อเตียงผู้ป่วยและ
อุปกรณ์อื่นๆ นายแพทย์จำลอง บ่อเกิด จึงได้ขอความร่วมมือจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 จัดรายงานทางโทรทัศน์เพื่อหาทุนสนับสนุนและได้รับความร่วมมือจากพ่อค้า คหบดี และประชาชนทั่วไป โดยได้รับเงินบริจาคสาหรับจัดซื้ออุปกรณ์ 1 ล้านบาทเศษ จึงทาให้อาคารผู้ป่วยศัลยกรรม สูติกรรมและเด็ก เปิดรับผู้ป่วยได้ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2513 กระทาพิธีเปิดโดย ฯพณฯพลเอกประเสริฐ รุจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น และได้รับบริจาคเงินสมทบซื้อเครื่องโทรศัพท์ภายในขนาด 100 เลขหมาย พร้อมทั้งจัดตั้งเสร็จเป็นจานวนเงิน 216,450 บาท โรงพยาบาลหาดใหญ่ ได้เปิดรับคนไข้ในวันที่ 24 มิถุนายน 2502 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาเนื่องจากการเจริญเติบโตของชุมชนในอำเภอหาดใหญ่ได้ขยายไปโดยรวดเร็ว รวมทั้งมีผู้ป่วยเจ็บไข้ในท้องที่และจังหวัดใกล้เคียงมารับบริการเพิ่มมากขึ้น พื้นที่ที่จะทำการก่อสร้างต่างๆมีจำกัด ไม่สามารถขยายการก่อสร้างอาคารต่างๆ เพื่อรองรับการใช้บริการได้ทั่วถึง ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2513 จึงได้เสนอต่อกรมการแพทย์ ขอทำการจัดหาที่ดินเพิ่มเติมออกไปทางถนนรัถการ ซึ่งเป็นพื้นที่ติดต่อผืนเดียวกันและเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลแห่งใหม่ในปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2513 ได้มีการแต่งตั้งกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 202 ลง
วันที่ 26 สิงหาคม 2515 โดยมีผู้อำนวยการโรงพยาบาลหาดใหญ่ นายจำลอง บ่อเกิด เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด
สงขลาและนายอำเภอหาดใหญ่ ในขณะนั้นเป็นกรรมการ
ปี พ.ศ. 2516 ดำเนินการเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้ที่ดินทั้งสิ้น 19 ไร่ 44 ตารางวา รวมเป็นเนื้อที่ซึ่ง
รวมสมทบที่ดินของเดิมประมาณ 33 ไร่
ปี พ.ศ. 2522-2525 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก 5 ชั้น และอาคารผู้ป่วยใน 6 ชั้น ซึ่ง
สามารถรองรับผู้ป่วยได้ถึง 700 เตียง
ปี พ.ศ. 2523 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารบรรยายทางวิชาการ 4 ชั้น
ในเดือน กุมภาพันธ์ 2526 โรงพยาบาลหาดใหญ่ได้ย้ายผู้ป่วยจากอาคารเดิมมาอยู่อาคารใหม่ที่ตั้ง ถนนรัถการ
ในปัจจุบันนี้ และได้กระทำพิธีเปิดอาคารทั้ง 2 หลัง โดย ฯพณฯท่านพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เมื่อ
วันที่ 26 มีนาคม 2526
ปี พ.ศ. 2538 ได้งบประมาณผูกพันก่อสร้างอาคารเรียน หอสมุด อาคารหอพัก 9 ชั้น ของศูนย์
แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก
ปี พ.ศ. 2538 ได้งบประมาณผูกพันก่อสร้างอาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 10 ชั้น
ทำเนียบผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลหาดใหญ่
1. นายแพทย์กำธร เจริญ พ.ศ. 2501 – 2505
2. นายแพทย์เฉลียว รัญเสวะ พ.ศ. 2505 – 2506
3. นายแพทย์จำลอง บ่อเกิด พ.ศ. 2506 – 2532
4. นายแพทย์มนตรี เศรษฐบุตร พ.ศ. 2532 – 2534
5. นายแพทย์เฉลิมชัย ชูเมือง พ.ศ. 2534 – 2537
6. นายแพทย์กมล วีระประดิษฐ์ พ.ศ. 2537 – 2553
7. นายแพทย์กุลเดช เตชะนภารักษ์ พ.ศ.2553- 2559
8. นายแพทย์สุภาพ ไพศาลศิลป์ พ.ศ.2559-2560
9. นายแพทย์พีระพงษ์ ภาวสุทธิไพศิฐ พ.ศ.2560 – ปัจจุบัน
ปัจจุบัน โรงพยาบาลหาดใหญ่เป็นโรงพยาบาลศูนย์ ขนาด 713 เตียง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เริ่มเปิดดำเนินการในปี พ.ศ. 2502 โดยเป็นโรงพยาบาลศูนย์ที่เริ่มให้บริการและรับส่งต่อ ผู้ป่วยในเขตบริการสุขภาพที่ 12
เมื่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เริ่มจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ในปี 2515 ยังไม่มีโรงพยาบาล เป็นสถานที่ฝึกงานของตนเอง จึงใช้โรงพยาบาลหาดใหญ่ เป็นสถานที่ฝึกงานชั้นคลินิกโดยแพทย์ของโรงพยาบาลหาดใหญ่ได้รับแต่งตั้ง เป็นอาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทำหน้าที่ร่วมสอนชั้น คลินิก ให้กับนักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 4, 5, 6 ตั้งแต่ พ.ศ. 2520
พ.ศ. 2525 โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เริ่มเปิดดำเนินการ แต่นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ยังคงหมุนเวียนมา
ฝึกปฏิบัติงานที่กลุ่มงานศัลกรรมโรงพยาบาลหาดใหญ่ โดยแพทย์ประจำของโรงพยาบาล เป็นผู้รับผิดชอบการเรียนการสอนทางคลินิก
พ.ศ. 2530 ได้รับอนุมัติจากกระทรวงสาธารณสุข ให้เปิดรับแพทย์ใช้ทุนประจำกลุ่มศัลยกรรม โดยมีสิทธิสอบวุฒิบัตร สาขาศัลยศาสตร์
พ.ศ. 2531 กลุ่มงานศัลยกรรม เริ่มการฝึกอบรมแพทย์ในกลุ่มงานศัลยกรรมเป็นเวลา 42 เดือน แล้วส่งสอบวุฒิบัตรได้จำนวน 15 คนในช่วงเวลาดังกล่าว ก่อนที่การผลิตศัลยแพทย์โดยวิธีดังกล่าวจะถูกยกเลิกไปตามมติของราชวิทยาลัยศัลแพทย์แห่งประเทศไทยเมื่อปีพ.ศ. 2542
พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับทบวงมหาวิทยาลัย ทำโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท เพื่อแก้ปัญหาความขาดแคลนแพทย์ในชนบท โดยโรงพยาบาลหาดใหญ่เป็นโรงพยาบาลศูนย์ที่ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 12 ศูนย์ที่รับนักศึกษาแพทย์
พ.ศ. 2542 ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลหาดใหญ่ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เริ่มเปิดดำเนินการรับนักศึกษาแพทย์รุ่นแรก โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ปีที่ 1 เข้าเรียนชั้นพรีคลินิกปีที่ 1, 2, 3 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเรียนชั้นคลินิก ปีที่ 4, 5, 6 ที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ เมื่อ พ.ศ.2545
พ.ศ. 2546 กลุ่มงานศัลยกรรม มีการสอนนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4,5 ของโรงพยาบาลหาดใหญ่เองจนถึง
ปัจจุบัน ปีละ 40 คน
สำหรับการเรียนการสอนหลักสูตรศัลยศาสตร์ ได้รับการตรวจประเมินและรับรองหลักสูตรการฝึกอบรมจากราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ในปีพ.ศ.2551 และ พ.ศ.2558 และในปี
พ.ศ. 2561 ราชวิทยาลัยได้กาหนดการตรวจประเมินหลักสูตรตามเกณฑ์ของ World Federation Medical
Education (WFME) ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นมาตรฐานสากลของแพทยศาสตร์ศึก ปัจจุบัน(ถึงตุลาคม 2562) กลุ่มงานศัลยกรรม มีอาจารย์แพทย์จำนวน 32 คน ประกอบด้วยศัลยแพทย์ทั่วไปและศัลยแพทย์ในอนุสาขาต่าง ๆ ดังนี้
- ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก
- ศัลยศาสตร์ตกแต่งและแม็กซิโลเฟเชียล
- ศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ
- กุมารศัลยศาสตร์
- ประสาทศัลยศาสตร์
1.3 ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม
ปรัชญา
กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ ผลิตศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความเป็นมืออาชีพ และยึดมั่นคุณธรรมจริยธรรม เน้นการทำงานเป็นทีม มีภาวะผู้นำ และทักษะการบริหารจัดการ เน้นการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งมั่นพัฒนาตนเองในทุกด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านศัลยศาสตร์ เรียนรู้ วิจัย และพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยศัลยศาสตร์ของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเห็นความสำคัญต่อการสร้างเสริม และส่งเสริมสุขภาพของประชาชนภาคใต้ตอนล่าง ภายใต้บริบทระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายภาคีเครือข่ายเขตสุขภาพเขตที่ ๑๒
วิสัยทัศน์
เป็นสถาบันชั้นนำเพื่อฝึกอบรมด้านศัลยศาสตร์ของภาคใต้ และมุ่งสู่ระดับสากล ภายในปี 2572
พันธกิจ
กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ มีพันธกิจในการดำรงความเป็นสถาบันทางวิชาการศัลยศาสตร์เพื่อประชาชน ที่มุ่งการพัฒนาและการใช้ความรู้ทางศัลยศาสตร์ อย่างมีประสิทธิภาพดังนี้
- มุ่งเน้นผลิตศัลยแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญ และความสามารถด้านศัลยศาสตร์แบบมืออาชีพ มีความรู้อย่างบูรณาการทั้งด้านศัลยศาสตร์, การบริหารสาธารณสุข, เวชจริยศาสตร์,การสื่อสารทางคลินิก การทำงานเป็นทีมสามารถปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพ การดูแลอย่างเป็นองค์รวม และการส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนจนมีความเป็นครูที่สามารถสอนบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆได้
- มุ่งเน้นเพื่อผลิตศัลยแพทย์ให้มีความชำนาญในการดูแลรักษาผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป สามารถปรับใช้ให้เข้ากับบริบทการทำงานของระบบบริการสุขภาพเครือข่ายเขตสุขภาพที่ ๑๒ โดยเฉพาะ “ผู้ป่วยฉุกเฉินเพื่อประชาชนภาคใต้ตอนล่าง “
- มุ่งเน้นให้พัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและทำงานวิจัยที่มีคุณค่า เน้นกระบวนการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ฐานข้อมูลระดับโรงพยาบาลศูนย์และเขตสุขภาพที่ ๑๒ รวมถึงเน้นระเบียบวิธีวิจัยที่สอดคล้องต่อความต้องการของระบบสุขภาพ
- มุ่งบริการวิชาการด้านศัลยศาสตร์ โดยให้บริการด้านศัลยศาสตร์ทุกกลุ่มโรคที่สำคัญ และคำนึงถึงบริบทความต้องการของประชาชนในเขตสุขภาพที่ ๑๒ เป็นหลัก ซึ่งเน้น ศัลยศาสตร์ฉุกเฉิน, ศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ, ศัลยศาสตร์มะเร็ง และคำนึงถึงการดูแลแบบองค์รวม, ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ, การป้องกัน, การรักษา, การฟื้นฟู รวมถึงการบูรณาการการบริการด้านศัลยศาสตร์เข้ากับระบบการเรียนการสอน เน้นระบบการเรียนรู้ ขณะปฏิบัติงานในสถานที่ และสถานการณ์จริง
- มุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีคุณธรรมและจริยธรรมทางการแพทย์ที่ดีในการดูแลรักษาผู้ป่วย มีความรับผิดชอบและมีพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อเพื่อนรวมงานทั้งในวิชาชีพของตนและวิชาชีพอื่นๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ป่วยและญาติ
ค่านิยม
สร้างศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญ มีมาตรฐานวิชาชีพ ส่งเสริมการวิจัย ใช้ความรู้คู่คุณธรรม
1.4 โครงสร้างองค์กร โครงสร้างการบริหาร โครงสร้างการบริหารการศึกษา พร้อมแผนภูมิ

1.5 รายชื่อผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร / อาจารย์หัวหน้ากลุ่มงาน (อดีต-ปัจจุบัน)
- นายแพทย์ปัญญา สงวนเชื้อ พ.ศ. 2501 – 2520
- นายแพทย์สมวงค์ รัตนไชย พ.ศ. 2521 – 2535
- นายแพทย์จุมพต บ่อเกิด พ.ศ. 2536 – 2545
- นายแพทย์สิทธิภัทร รุ่งประเสริฐ พ.ศ. 2545 – 2558
- นายแพทย์ธีรชัย ทรงเกียรติกวิน พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน
1.6 จำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์และบุคลากร
จำนวนอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรม
ก. แพทย์ผู้ให้การฝึกอบรมเต็มเวลา 32คน
ข. แพทย์ผู้ให้การฝึกอบรมไม่เต็มเวลา 0 คน
แพทย์ให้การฝึกอบรมเต็มเวลา (35 ชั่วโมง/สัปดาห์ = ภาระงาน 1 คน)
รายชื่อแพทย์ผู้ให้การฝึกอบรม
ชื่อ-นามสกุล | วุฒิบัตร | อนุสาขา |
หัวหน้ากลุ่มงาน นายแพทย์ธีรชัย ทรงเกียรติกวิน | ว.ว.ศัลยศาสตร์ , พบ | |
ศัลยแพทย์ นายแพทย์สมบูรณ์ หวังวิญญู | ว.ว.ศัลยศาสตร์ , พบ | |
นายแพทย์อารยะ ไข่มุกด์ | ว.ว.ศัลยศาสตร์ , พบ | |
นายแพทย์ภควัต จุลทอง | ว.ว.ศัลยศาสตร์ , พบ | |
นายแพทย์บันลือ ช่อดอก | ว.ว.ศัลยศาสตร์ , พบ | |
นายแพทย์ชรินทร แพทยนันทเวช | ว.ว.ศัลยศาสตร์ , พบ | |
นายแพทย์ชูแสง ธีระวัฒน์ชัย | ว.ว.ศัลยศาสตร์ , พบ | |
แพทย์หญิงกมเลส ประสิทธิ์วรากุล | ว.ว.ศัลยศาสตร์ , พบ | |
นายแพทย์จิรัชย์ จิรธรรมโอภาส | ว.ว.ศัลยศาสตร์ , พบ | |
นายแพทย์กิตติกานต์ ทองซ้อนกลีบ | ว.ว.ศัลยศาสตร์ , พบ | |
นายแพทย์รนยง ถมทอง | ว.ว.ศัลยศาสตร์ , พบ | |
แพทย์หญิงวรารักษ์ วิจะสิกะ | ว.ว.ศัลยศาสตร์ , พบ | |
นายแพทย์เชิดชัย ชโลธรสุทธิ | ว.ว.ศัลยศาสตร์ , พบ | |
นายแพทย์วิศรุต จิรพงศกร | ว.ว.ศัลยศาสตร์ , พบ | |
นายแพทย์นฤเทพ หนูไชยแก้ว | ว.ว.ศัลยศาสตร์ , พบ | |
ชื่อ-นามสกุล | วุฒิบัตร | อนุสาขา |
นายแพทย์ประพันธ์ สมพร | วว.สาขาประสาทศัลยศาสตร์,พบ | |
นายแพทย์วัฒนชัย กุลวิวัฒน์ | วว. สาขาประสาทศัลยศาสตร์,พบ | |
นายแพทย์อัฐพล ชีวรุ่งโรจน์ | วว. สาขาประสาทศัลยศาสตร์,พบ | |
นายแพทย์กฤษพงศ์ บำรุงวงศ์ | วว. สาขาประสาทศัลยศาสตร์,พบ | |
นายแพทย์รติกร สมรักษ์ | วว. สาขาประสาทศัลยศาสตร์,พบ | |
นายแพทย์อนันต์ ศรีนิวรณ์ | วว. กุมารศัลยศาสตร์ ,พบ | |
แพทย์หญิงสิริมา ลิ่วกิตติธรา | วว. กุมารศัลยศาสตร์ ,พบ | |
นายแพทย์วีระพงศ์ เลิศสุวรรณา | ว.ว.สาขาศัลยศาสตร์ตกแต่ง , พบ | |
นายแพทย์ภัทรดนย์ เมืองสมบัติ | ว.ว.สาขาศัลยศาสตร์ตกแต่ง, พบ | |
นายแพทย์ปรัชญา พรประชาวัฒน์ | ว.ว.สาขาศัลยศาสตร์ตกแต่ง, พบ | |
นายแพทย์วรุตม์ พิสุทธินนทกลุ | ว.ว.สาขาศัลยศาสตร์ทรวงอก ,พบ | |
นายแพทย์ธีระ สิมาพัฒนพงศ์ | ว.ว.สาขาศัลยศาสตร์ทรวงอก ,พบ | |
นายแพทย์ธรรมวิทย์ สุนทรรักษ์ | ว.ว.สาขาศัลยศาสตร์ทรวงอก ,พบ | |
นายแพทย์นพพร พลทองวิจิตร | ว.ว.ศัลยศาตร์ยูโรวิทยา , พบ | |
นายแพทย์บัญชา ทิพย์ถิระพงศ์ | ว.ว.ศัลยศาตร์ยูโรวิทยา , พบ | |
นายแพทย์พินิต เชษฐานุกูล | ว.ว.ศัลยศาตร์ยูโรวิทยา, พบ | |
นายแพทย์สืบพงษ์ เอ่งฉ้วน | ว.ว.ศัลยศาตร์ยูโรวิทยา , พบ |
1.7 จำนวนหลักสูตรและสาขาที่เปิดสอน
1. หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลหาดใหญ่ พ.ศ. 2562(แผน ก)
2. หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ปฏิบัติงานเพื่อวุฒิบัตร (แผน ข) สาขาศัลยศาสตร์โรงพยาบาลหาดใหญ่พ.ศ.2561
3. หลักสูตรการฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านคลินิก อนุสาขาผ่าตัดส่องกล้องศัลยศาสตร์ทั่วไป
1.8 ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับงบประมาณและรายจ่าย
งบประมาณได้รับการจัดสรรมาจากศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลหาดใหญ่
นอกจากนี้ยังสามารถใช้งบประมาณจากเงินบำรุงสำหรับการประชุมตามข้อกำหนดของโรงพยาบาล มี
งบประมาณสนับสนุนด้านการวิจัย จากศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก และเงินสนับสนุนกิจกรรมจาก
เงินกลุ่มงานศัลยกรรม
1.9 สินทรัพย์ ด้านอาคารสถานที่ ด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์ จำนวนเตียงกลุ่มงานศัลยกรรม(ภาพรวมและจำแนกตามหอผู้ป่วย)
1. จำนวนเตียงของโรงพยาบาล 741 เตียง
2. จำนวนเตียงสามัญผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป 96 เตียง
– หอผู้ป่วย 420 24 เตียง
– หอผู้ป่วย 510 24 เตียง
– หอผู้ป่วย 520 24 เตียง
– หอผู้ป่วย 540 24 เตียง
– หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม ( ICU) 8 เตียง
3. จำนวนเตียงพิเศษผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป 21 เตียง
4. จำนวนห้องผ่าตัดใหญ่ทั้งหมด 18 ห้อง
5. จำนวนห้องผ่าตัดเล็กทั้งหมด 1 ห้อง
6. จำนวนห้องส่องกล้อง 2 ห้อง
7. ห้องประชุมจำลอง 300 ที่นั่ง
8. ห้องนิทรรศการ จำนวน 80 ที่นั่ง
9. ห้องสมุด จำนวน 20 ที่นั่ง
10.ห้องประชุม 2210 , 2610 , 320 จำนวน ห้องละ 50 ที่นั่ง
11. ห้องประชุมหอผู้ป่วย 440 จำนวน 30 ที่นั่ง
12. ห้องประชุมศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก จำนวน 200 ที่นั่ง
13. ห้องประชุมนภารักษ์ 250 ที่นั่ง
14. ห้องประชุมฝ่ายการพยาบาล จำนวน 30-40 ที่นั่ง
15. ห้องประชุมสุวิทย์ จำนวนที่นั่ง 50-70 ที่นั่ง
16. ห้องประชุมองกรค์แพทย์ 40 ที่นั่ง
1.10 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
– แพทย์ประจำบ้านผู้เข้ารับการฝึกอบรม
– อาจารย์ผู้สอน พยาบาล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหาดใหญ่
– โรงพยาบาลที่รับศัลยแพทย์เข้าทางาน
– นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4,5,6 แพทย์เพิ่มพูนทักษะ
– ผู้บริหารโรงพยาบาลหาดใหญ่
1.11 ระบบการประกันคุณภาพ/การรับรองคุณภาพอื่นๆ ของสถาบัน และสถานฝึกปฏิบัติทางคลินิกหลัก
โรงพยาบาลหาดใหญ่ได้รับการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลจากสถาบันรับรองคุณภาพ
สถานพยาบาล(องค์การมหาชน) ล่าสุด เป็น re-accreditation ครั้งที่ 5 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.
2562 เป็นเวลา 3 ปี
1.12 การปรับปรุงแก้ไขการฝึกอบรมตามคำแนะนำของการตรวจประเมินเมื่อ 5 ปีก่อน
คำแนะนำของการตรวจประเมิน | การปรับปรุงแก้ไข |
มิติที่ 5 อาจารย์ภาควิชา/กอง/กลุ่มงาน ไม่มีแผนพัฒนาอาจารย์ด้านวิจัย | กลุ่มงานศัลยกรรมโรงพยาบาลหาดใหญ่ มีแผนพัฒนาอาจารย์ด้านวิจัย โดยสนับสนุนให้ร่วมพัฒนาความรู้ทางด้านวิจัย โดยศูนย์แพทย์ศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลหาดใหญ่จัดงานประชุมพัฒนางานวิจัยแก่อาจารย์แพทย์ และมีทุนสนับสนุนการทำงานวิจัยให้กับอาจารย์แพทย์ |
มิติที่ 5 อาจารย์ภาควิชา/กอง/กลุ่มงาน ไม่มีแผนพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอนจริยธรรม | กลุ่มงานศัลยกรรมโรงพยาบาลหาดใหญ่ ส่งอาจารย์แพทย์อบรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนจริยธรรมและนำความรู้ที่ได้มาควมคุมการเรียน Ethic conference |
มิติที่ 6 กระบวนการฝึกอบรม 6.2.4 ไม่มีการสรุปผลที่ได้จากการประชุมกิจกรรมทางวิชาการ | กลุ่มงานศัลยกรรมโรงพยาบาลหาดใหญ่ จัดให้มีการสรุปผลการประชุมกิจกรรมวิชาการ โดยแพทย์ประจำบ้านที่เข้าร่วมทุกครั้ง |
มิติที่ 6 กระบวนการฝึกอบรม 6.2.5 ไม่มีการร่วมอภิปรายของอาจารย์ | กลุ่มงานศัลยกรรมโรงพยาบาลหาดใหญ่ มีอาจารย์เข้าร่วมกิจกรรมวิชาการและร่วมอภิปรายกับแพทย์ประจำบ้าน โดยให้เซนท์ชื่อเข้าการประชุมทุกครั้ง อาจารย์มีการประชุมเพื่อทราบผลการดำเนินการฝึกอบรมทุก 3 เดือนและ มีการประชุมเพื่อพัฒนาหลักสูตรทุกปี |